วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557


การเข้าเรียนครั้งที่ 16


คำชี้แจง : ข้อสอบปลายภาควิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ 15 คะแนน


1. ให้นักศึกษาเขียนแผนผังความคิดสรุปความรู้ที่ตนเองได้รับจากวิชา   การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความ

ต้องการพิเศษ  (7คะแนน)

2.  ยกตัวอย่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษมา1ประเภท โดยอธิบายตามหัวข้อดังนี้   (5คะแนน)
      
  - ลักษณะอาการ
       
  - บทบาทของครู
       
  - การดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการ

3.  ให้นักศึกษาบรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ  (3คะแนน)


- ส่งสรุปวิจัยภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

- ส่งข้อสอบภายในวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2557 ก่อนเวลา 17.00 น.

- ทำ blogger ให้เสร็จภายในวันที่ 2 มีนาคม 2557








การเข้าเรียนครั้งที่ 15

การเรียนการสอน


LD คืออะไร?

ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง

ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลาย ๆ ด้านร่วมกัน


สาเหตุของ LD

1.ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)

2.กรรมพันธุ์


ปัญหาการเรียน

ปัญหาการพูด  มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถาม             

ไม่ถูกต้อง

ปัญหาการเขียน  มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง  อ่านตัว

อักษรสลับกัน

ปัญหาการคำนวณ ไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้

ปัญหาในกระบวนความคิด สับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ

ปัญหาความจำ จำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก


โรคสมาธิสั้น

                 เรียกย่อๆว่า ADHD  มาจากชื่อในภาษาอังกฤษ “Attention deficit/ hyperactivity disorder”  เด็กวัยเรียนทั่วโลกพบว่าเป็นโรคสมาธิสั้นประมาณ 7 %  หมายความว่าในเด็กวัยเรียน 100 คน จะพบเป็นโรคสมาธิสั้น 7 คน  ถ้าในห้องเรียนมีนักเรียนประมาณ 40 50 คน ก็น่าจะมีเด็กสมาธิสั้น 2 3 คน

โรคสมาธิสั้นเกิดจากอะไร?

                สมองส่วนหน้าที่มีหน้าที่ควบคุมเรื่องการสมาธิจดจ่อ การยับยั้งชั่งใจและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ทำงานน้อยกว่าเด็กปกติ





ปัจจัยทางพันธุกรรม

1.ถ้ามีพ่อหรือแม่ 1 คนเป็นโรคสมาธิสั้น พบว่าลูกจะเป็นโรคนี้ร้อยละ 57
2.ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
3.มารดาสูบบุหรี่หรือใช้สารเสพติดช่วงตั้งครรภ์
4.น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์
5.ได้รับพิษสารตะกั่ว
6.ฯลฯ




การเข้าเรียนครั้งที่ 14

การดูและรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

ดาวน์ซินโดรม

     รักษาตามอาการ

1.แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
2.ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
3.เน้นการดูแลแบบองค์รวม 

ออทิสติก

     ส่งเสริมความสามารถเด็ก

1.การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
2.ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
3.การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
4.เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
5.การแรงเสริม



การเข้าเรียนครั้งที่ 13


                                             ไม่มีการเรียนการสอน เพราะ สอบในรายวิชา
                                         การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ