การเข้าเรียนครั้งที่ 10
การเรียนการสอน
นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
กลุ่มที่ 1 Cerebral Palsy C.P
กลุ่มที่ 2 Children with Learning Disabilities L.D.
กลุ่มที่ 3 Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders
ซึ่งพึงนำเสนอได้เพียง 3 กลุ่มเท่านั้น
ซึ่งทั้งหมดมี 5 กลุ่ม
Cerebral Palsy C.P
โรค Cerebral Palsy (ซีรีบรัล พลัลซี หรือ ซีพี) หรือ
โรคสมองพิการ เกิดจากสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งบกพร่อง
หรือสูญเสียไป ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง
ซึ่งจะทำให้ผู้เป็น โรค Cerebral Palsy มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
แบ่งสาเหตุการเกิดได้ 3 ระยะ คือ
1.
ระหว่างตั้งครรภ์
2.
ระยะระหว่าคลอด
3.
ระยะหลังคลอด
อาการ
พ่อแม่พบความผิดปกติก่อนอายุ
1 ปี สังเกตได้จากเด็กมีท่านอนผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง
เด็กอายุมากกว่า 5 เดือน กำมือมากกว่าแบมือ หรือในเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 ปี
ยังไม่สามารถเดินได้ เป็นต้น
จำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ เเบ่งอาการเป็น
3 กลุ่ม
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (สปาสติก
: spastic)
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (อะธีตอยด์
: athetoid ; อะแทกเซีย : ataxia)
3.กลุ่มอาการผสมกัน (mixed type)
การดูแล/รักษา
1.การรักษาทางกายภาพบำบัด
2.การรักษาทางกิจกรรมบำบัด
3.การรักษาด้วยยา
4.การรักษาด้วยการผ่าตัด
5.การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมร่วมกับการรักษา
Children with Learning Disabilities L.D.
สาเหตุของโรคแอลดี
เด็กแอลดี
(LD : Learning
Disability) หรือ
เด็กที่อยู่ในภาวะความบกพร่องในการเรียนรู้ เด็กๆ
เหล่านี้จะมีสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือฉลาดกว่า
แต่การเรียนรู้ในด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายๆ ด้านจะช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน
โรคแอลดีเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
ยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสมองส่วนใดหรือมีความผิดปกติอย่างไร
พบว่ามักจะอยู่ในกลุ่มที่แม่มีปัญหาในระหว่างตั้งครรภ์
มีปัญหาระหว่างคลอดหรือหลังคลอด หรือสมองของเด็กมีการทำงานผิดปกติ
โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ อุบัติเหตุ ได้รับสารพิษ เป็นต้น
เด็กแอลดีไม่ได้เป็นปัญญาอ่อน
มีสติปัญญาปกติหรือมากกว่าปกติ และไม่ได้พิการใดๆ ทั้งสิ้น
สาเหตุจะต้องมาจากความผิดปกติของสมองเพียงอย่างเดียว
ไม่ใช่การอยู่ในวัฒนธรรมหรือสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการดูแล หรือ
เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียน อาจเกิดจากระบบการสอนที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กตามวัย
อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความบกพร่องด้านการเรียนได้ เช่น
การเร่งให้เด็กเขียนหนังสือในขณะที่พัฒนาการกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่พร้อม เป็นต้น
จึงไม่จัดอยู่ในกลุ่มของเด็กแอลดี
ข้อสังเกตและอาการบ่งชี้
เด็กแอลดีอาจแสดงออกมาเป็นความบกพร่องทางการฟัง
การพูด การเขียน การคำนวณ เป็นต้น
ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนทำให้เรียนไม่ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่
เด็กพวกนี้ถึงแม้จะเรียนพร้อมกับเด็กคนอื่น แต่ก็เรียนรู้ไม่ได้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. ด้านการอ่าน (Dislexia)
อาจจะอ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง
สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระ อ่านตกหล่น ข้ามคำ
อ่านไม่ได้ใจความจนถึงขั้นอ่านไม่ออกเลย
2. ด้านการเขียนและการสะกดคำ (Disgraphia)
รู้ว่าจะเขียนอะไร
แต่เขียนไม่ได้ เขียนตก เขียนพยัญชนะสลับกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายเป็นขวาเหมือน
ส่องกระจก เกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน เขียนกลับหลัง เขียนพยัญชนะ
สระวรรณยุกต์ สลับตำแหน่งกัน
(เด็กกลุ่มนี้มักจะเริ่มสังเกตเห็นปัญหาได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน) เช่น ก ไก่
เขียนหันหัวไปทางขวาแทนที่จะเป็นทางซ้าย
3. ด้านการคำนวณ (Discalculia)
อาจจะคำนวณไม่ได้เลย
หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข
ไม่สามารถจับหลักการ บวก ลบ คูณ หารได้
Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders
สมาธิสั้น
(อังกฤษ: Attention
Deficit Hyperactivity Disorders (ADHD) เป็นความผิดปกติด้านพฤติกรรม
เกิดจากการทำงานที่ไม่เหมาะสมของสมอง โดยเฉพาะสมองส่วนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมาธิ
ทำให้เกิดการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กันกับระบบสั่งงานอื่นๆ
ผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้นคือผู้ที่มีความบกพร่องในเรื่องสมาธิ
และการควบคุมการกระทำของตนเองในการเคลื่อนไหวต่างๆ
ซึ่งอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
สาเหตุ
แท้จริงของภาวะสมาธิสั้นนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน
แต่สันนิษฐานว่าอาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง
อีกสาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ก็คือพันธุกรรมที่มีผลต่อสมอง
แม้ว่าจะยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าภาวะสมาธิสั้นมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมอย่างไรก็ตาม
ลักษณะอาการ ในเด็กเล็กวัย 3 - 5 ขวบ
ไม่อยู่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา แม้ขณะรับประทานอาหาร
เช่น นั่งรับประทานอาหารได้เพียงคำเดียวก็ลุกขึ้นวิ่ง
มักพูดแทรกและขัดจังหวะคนอื่น เป็นคนอดทนรอไม่ได้ เช่นเวลาเข้าแถว เวลาเล่นของเล่น
หรือเกมที่ต้องผลัดกันเล่น เล่นของเล่นอย่างใดอย่างหนึ่งได้ไม่นาน
ไม่สามารถทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ทั้งที่มีความเข้าใจ และสื่อสารได้ปกติ
เล่นเสียงดังมากกว่าเด็กคนอื่นไม่ชอบแบ่งปัน ชอบแย่งของจากคนอื่น
โดยไม่เข้าใจความรู้สึกของคนที่ถูกแย่ง ดูเหมือนกับมีพลังงานมากมาย
ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
จะพบอาการได้ชัดกว่าในเด็กเล็ก มีอาการสำคัญ 3
กลุ่มอาการดังนี้
1. อาการไม่มีสมาธิ (Inattention)
- มีความสะเพร่า เลิ่นเล่อ ผิดพลาดสิ่งเดิม ๆ ซ้ำ
ๆ อยู่เสมอ
- เหม่อลอย บางครั้งอาจนั่งนิ่งๆ
เป็นระยะเวลานานๆ จึงมักทำงานไม่เสร็จ หรือทำงานช้า
แต่บางครั้งหากเป็นสิ่งที่สนใจมาก ๆ
- ไม่ฟังเวลาผู้ใหญ่พูดด้วยหรือสอน มักจำไม่ได้
ลืมง่ายมากกว่าเด็กทั่วไป
- มักทำของหาย เช่น ของเล่น การบ้าน ดินสอ
หนังสือ ยางลบ ฯลฯ
- วอกแวกได้ง่ายมากแม้แต่สิ่งเร้าเล็กๆ
น้อยที่ผ่านทางตาหรือหูก็สามารถทำให้เสียสมาธิได้
2. อาการอยู่ไม่สุข (Hyperactivity)
- ชอบเดินไปมาในห้อง หรือออกนอกห้อง
ถ้าไม่เดินก็จะนั่งไม่อยู่นิ่ง อยู่ไม่เป็นสุข ลุกลี้ลุกลน หยิบโน่น ฉวยนี่
- ซนมากกว่าเด็กทั่วๆไป
ดูเหมือนมีพลังงานอยู่ตลอดเวลา ชอบวิ่งเล่นหรือปีนป่ายในสถานที่ที่ไม่สมควร
- มักลืมตัวเล่นเสียงดัง
- ไม่มีระเบียบในการทำสิ่งต่างๆ มักวุ่นวาย
ยุ่งเหยิงตลอดเวลา
3. ขาดความยับยั้งชั่งใจ อดทนรออะไรไม่ได้ (Impulsive)
- มักพูดมาก พูดแทรก
- รอคอยไม่เป็น มักแสดงออกในลักษณะรีบเร่ง
- หุนหันพลันแล่นทำสิ่งต่างๆ
อย่างรวดเร็วโดยไม่ยั้งคิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น